หน่วยที่ 6 การติดต่อสื่อสาร
ค้นหาข้อมูลและความรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ความหมายของอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต (Internet) คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันจำนวนมากและครอบคลุมไปทั่วโลก เครือข่ายนี้เชื่อมเข้าหากันภายใต้กฎเกณฑ์ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน (TCP/IP) ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและส่งผ่านข้อมูลระหว่างกันได้
ประวัติความเป็นมา
ปี 2512 กระทรวงกลาโหมสหรัฐให้ทุนมหาวิทยาลัยศึกษาวิธีการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้า เป็นเครือข่าย เรียกว่า อาร์ปาเน็ต (Arpanet)
ปี 2524 มหาวิทยาลัยทุกแห่งในสหรัฐเชื่อมโยงเข้าสู่เครือข่าย แล้วเปลี่ยนชื่อมาเป็นอินเทอร์เน็ต
ปี 2532 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้เชื่อมโยงเครือข่ายเพื่อส่ง E-mail กับประเทศออสเตรเลีย
การบริการบนอินเทอร์เน็ต
1. จดหมายอิเลคทรอนิกส์ (Electronic
Mail)
จดหมายอิเลคทรอนิกส์หรือที่เรียกกันว่า E-mail เป็นการสื่อสารที่นิยมใช้กันมากเนื่องจากผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารกับบุคคลที่ต้องการได้รวดเร็ว
ภายในระยะเวลาอันสั้น
ไม่ว่าจะอยู่ในที่ทำงานเดียวกันหรืออยู่ห่างกันคนละมุมโลกก็ตามนอกจากนี้ยังสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยมาก
องค์ประกอบของ e-mail
address ประกอบด้วย
1. ชื่อผู้ใช้ (User name)
2. ชื่อโดเมน Username@domain_name
การใช้งานอีเมล สามารถแบ่งได้ดังนี้ คือ
1. Corporate e-mail คือ อีเมล
ที่หน่วยงานต่างๆสร้างขึ้นให้กับพนักงานหรือบุคลากรในองค์กรนั้น เช่น u47202000@dusit.ac.th
คือ e-mail ของนักศึกษาของสถาบันราชภัฏสวนดุสิต
เป็นต้น
2. Free e-mail คือ อีเมล ที่สามารถสมัครได้ฟรีตาม web
mail ต่างๆ เช่น Hotmail, Yahoo Mail, Thai Mail และ Chaiyo Mail
2. การสืบค้นข้อมูลแบบเครือข่ายใยแมงมุม
(Wold Wide Web : WWW)
เป็นการสื่อสารที่เติบโตเร็วที่สุดในอินเตอร์เน็ต
ด้วยเหตุผลที่สำคัญคือง่ายต่อการใช้งานและสามารถนำเสนอข้อมูลกราฟิกได้ การใช้ World
Wide Web เปรียบเสมือนการเข้าไปอ่านหนังสือในห้องสมุดโดยหนังสือที่มีให้อ่านจะสมบูรณ์มากกว่าหนังสือทั่วไป
เพราะสามารถฟังเสียงและดูภาพเคลื่อนไหวประกอบได้ นอกจากนี้ยังสามารถโต้ตอบกับผู้อ่านได้ด้วย
ลักษณะเด่นอีกประการหนึ่งคือข้อมูลต่าง ๆ จะมีการเชื่อมโยงถึงกันได้ด้วยคุณสมบัติ
ของ HyperText Link
WWW คืออะไร
การใช้งานอินเตอร์เน็ตแบบ WWW (World Wide Web) เป็นเครื่องมือในการ
ให้บริการข้อมูลข่าวสารบนอินเตอร์เน็ตที่ใช้ได้ง่าย
สามารถชมได้ทั้งภาพนิ่ง เสียง VDO แม้แต่ส่ง Pager
หรือจะสั่ง Pizza ก็ได้
ในปัจจุบันมีโปรแกรมในลักษณะของ WWW อยู่หลายตัวและหลายเวอร์ชั่นมากมาย แต่ละตัว
จะเหมาะกับเครื่องคอมพิวเตอร์หลากหลายชนิด
โปรแกรมที่จะพาผู้ใช้เข้าถึงบริการในลักษณะของ WWW
เรียกว่า “บราวเซอร์” (Browser) ตามลักษณะของการใช้บริการดังกล่าวที่ดูเสมือนการเปิด หนังสือดู ไปทีละหน้า
เหมือนการใช้ Online Help นั่นเอง
3. การโอนย้ายข้อมูล (File
Transfer Protocol : FTP)
การโอนย้ายข้อมูล
หรือที่นิยมเรียกกันว่า FTP เป็นการสื่อสารอีกรูปแบบหนึ่งที่ใช้กันมากพอสมควรในอินเตอร์เน็ต
โดยอาจใช้เพื่อการถ่ายโอนข้อมูลรวมถึงโปรแกรมต่าง ๆ ทั้งที่เป็น freeware
sharewareจากแหล่ง ข้อมูลทั้งหลายมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ใช้งานอยู่
ปัจจุบันมีหน่วยงานหลายแห่งที่กำหนดให้ Serverของตนทำหน้าที่เป็น
FTP site เก็บรวบรวมข้อมูลและโปรแกรมต่าง ๆ สำหรับให้บริการ FTP
ที่นิยมใช้กันมากได้แก่WS_FTP, CuteFTP
การโอนย้ายไฟล์สามารถแบ่งได้ดังนี้ คือ
1. การดาวน์โหลดไฟล์
(Download File ) การดาวน์โหลดไฟล์ คือ
การรับข้อมูลเข้ามายังเครื่อง
คอมพิวเตอร์ของผู้ใช้
ในปัจจุบันมีหลายเว็บไซต์ที่จัดให้มีการดาวน์โหลดโปรแกรมได้ฟรี เช่น http://www.download.com
2. การอัพโหลดไฟล์ (Upload File) การอัพโหลดไฟล์คือการนำไฟล์ข้อมูลจากเครื่องของผู้ใช้ไปเก็บไว้ในเครื่องที่ให้บริการ
(Server) ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เช่น
กรณีที่ทำการสร้างเว็บไซต์ จะมีการอัพโหลดไฟล์ไปเก็บไว้ในเครื่องบริการเว็บไซต์ (Web
server ) ที่เราขอใช้บริการพื้นที่ (web server) โปรแกรมที่ช่วยในการอัพโหลดไฟล์เช่น FTP Commandersocial
4. การแลกเปลี่ยนข่าวสาร (USENET)
การสื่อสารประเภทนี้มาที่มาจากกระดานประกาศข่าว หรือ Bulletin Board กล่าวคือ
ผู้ที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน จะรวมกลุ่มกันตั้งเป็นกลุ่มข่าวของแต่ละประเภท เมื่อมีข้อมูลใหม่ที่จะเป็น
ประโยชน์ต่อสมาชิกผู้อื่น
หรือมีปัญหาหรือคำถามที่ต้องการความช่วยเหลือหรือคำตอบ ผู้นั้นก็จะส่งข้อมูลของตน
เข้าไปติดประกาศไว้ในอินเตอร์เน็ต
โดยเครื่องที่ทำหน้าที่ติดประกาศ คือ News Server เมื่อสมาชิกอื่นอ่านพบ
ถ้ามีข้อมูลเพิ่มเติมหรือมีบางอย่างไม่ถูกต้อง หรือมีคำตอบที่จะช่วยแก้ปัญหาให้ได้
สมาชิกเหล่านั้นก็จะส่งข้อมูล
ตอบกลับไปติดประกาศไว้เช่นกัน
5. การเข้าใช้เครื่องระยะไกล (Telnet)
Telnet เป็นการขอเข้าไปใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น
ที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตจากระยะไกล
โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องไปนั่งอยู่หน้าเครื่อง
เครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวนี้อาจอยู่ภายในสถานที่เดียวกับผู้ใช้
หรืออยู่ห่างกันคนละทวีปก็ได้ แต่ทั้งนี้ผู้ใช้ต้องมี account และรหัสผ่านจึงจะสามารถเข้าใช้เครื่องดังกล่าวไดส่วนคำสั่งในการ
ทำงานนั้นขึ้นอยู่กับระบบปฏิบัติการของเครื่องที่เข้าไปขอใช้
6. การสนทนาผ่านเครือข่าย (Talk
หรือ Chat)
เป็นการติดต่อสื่อสารแบบ 2 ทาง
คือสามารถสื่อสารโต้ต อบกันได้ทันทีเหมือนการใช้โทรศัพท์
ในการสนทนาผ่านเครือข่ายนี้สามารถทำได้ทั้งแบบ Text-based และ
Voice-based โดยในระยะแรกจะจำกัด
เฉพาะ Text-based
คือใช้วิธีการพิมพ์เป็นข้อความในการสื่อสารโต้ตอบระหว่างกัน
โปรแกรมที่นิยมใช้คือ Talk และ IRC (Internet Relay
Chat) ต่อมาเมื่อมีการพัฒนามากขึ้นทั้งด้าน Hardware และ Softwareทำให้ปัจจุบัน เราสามารถสทาอสารกันทาง Voice-based
ได้ด้วย โปรแกรมที่ใช้ในการสื่อสารประเภทนี้ เช่น NetMeeting
ของไมโครซอฟต์ หรือ Inter Phone ของ Vocaltec
ฯลฯ
การค้นหาข้อมูลความรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
1. รูปแบบการค้นหาข้อมูลความรู้
1.1 การค้นหาความรู้จากที่อยู่ของข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต (Uniform Resource Locator : URL) เป็นการค้นหาข้อมูลความรู้โดยพิมพ์ที่อยู่ของข้อมูลที่ต้องการค้นหาลงในช่อง ที่กำหนด โดยผู้ค้นหาจะต้องทราบที่อยู่ของเว็บไซต์ก่อน
1.2 การหาข้อมูลโดยใช้ซอฟต์แวร์ค้นผ่านเว็บ (Web browser) มี 2 วิธี คือ
1.2.1 การสืบค้น (Browse) เป็นการเปิดดูเอกสารไปเรื่อยๆ ผ่านการเชื่อมโยง (Link)
1.2.2 การค้นหา (Search) โดยใช้ระบบโปรแกรมค้นหา (Search engine) โดยใช้คำสำคัญ (Keyword) ในการหาข้อมูล
เทคนิคในการหาข้อมูลโดยใช้ Search engine
1. บีบประเด็นให้แคบลง
2. ใช้คำที่ใกล้เคียงกัน
3. การใช้คำหลัก (Keyword)
4. หลีกเลี่ยงการใช้ตัวเลขโดยไม่จำเป็น
5. ใช้เครื่องหมาย + หรือ – ในการช่วยค้นหาข้อมูล
คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต
1. ปฏิบัติตามกฎ กติกา และมารยาทที่แต่ละเว็บไซต์กำหนด
2. การใช้ E-mail ควรหมั่นลบจดหมายเพื่อให้พื้นที่ในการรับ-ส่งจดหมายมากขึ้น และไม่ควรส่งจดหมายลูกโซ่ไปสร้างความรำคาญใจให้ผู้อื่น
3. การแชตนั้น ควรสนทนากับผู้ที่ต้องการสนทนาด้วยเท่านั้น ควรใช้คำสุภาพและไม่ละเมิดเรื่องส่วนตัว
4. การใช้เว็บบอร์ด ห้ามพาดพิงสถาบันสำคัญ ห้ามเผยแพร่หรือส่งต่อข้อมูลลามาอนาจาร
5. การใช้ข้อมูลของเว็บไซต์ทางอินเทอร์เน็ต ไม่ควรคัดลอกไปใช้ในเชิงธุรกิจและไม่ควรแอบอ้างข้อมูลของผู้อื่นไปเป็น ข้อมูลของตนเอง
6. การส่งไฟล์ข้อมูล ไม่ควรส่งไฟล์ข้อมูลที่มีกลุ่มซอฟต์แวร์ประสงค์ร้าย เช่น ไวรัส ไปให้ผู้อื่น
โดเมนเนม (Domain name)
1. บีบประเด็นให้แคบลง
2. ใช้คำที่ใกล้เคียงกัน
3. การใช้คำหลัก (Keyword)
4. หลีกเลี่ยงการใช้ตัวเลขโดยไม่จำเป็น
5. ใช้เครื่องหมาย + หรือ – ในการช่วยค้นหาข้อมูล
คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต
1. ปฏิบัติตามกฎ กติกา และมารยาทที่แต่ละเว็บไซต์กำหนด
2. การใช้ E-mail ควรหมั่นลบจดหมายเพื่อให้พื้นที่ในการรับ-ส่งจดหมายมากขึ้น และไม่ควรส่งจดหมายลูกโซ่ไปสร้างความรำคาญใจให้ผู้อื่น
3. การแชตนั้น ควรสนทนากับผู้ที่ต้องการสนทนาด้วยเท่านั้น ควรใช้คำสุภาพและไม่ละเมิดเรื่องส่วนตัว
4. การใช้เว็บบอร์ด ห้ามพาดพิงสถาบันสำคัญ ห้ามเผยแพร่หรือส่งต่อข้อมูลลามาอนาจาร
5. การใช้ข้อมูลของเว็บไซต์ทางอินเทอร์เน็ต ไม่ควรคัดลอกไปใช้ในเชิงธุรกิจและไม่ควรแอบอ้างข้อมูลของผู้อื่นไปเป็น ข้อมูลของตนเอง
6. การส่งไฟล์ข้อมูล ไม่ควรส่งไฟล์ข้อมูลที่มีกลุ่มซอฟต์แวร์ประสงค์ร้าย เช่น ไวรัส ไปให้ผู้อื่น
โดเมนเนม (Domain name)
โดเมนเนม หมายถึง ชื่อเว็บไซต์ ชื่อบล็อก ซึ่งเป็นชื่อที่ตั้งขึ้น เพื่อให้จดจำได้ง่าย เกิดจากการแปลงหมายเลขไอพีซึ่งประกอบไปด้วย ไอพีสาธารณะ (Public) และไอพีส่วนบุคคล (Private) ให้กลายเป็นชื่อโดเมน โดยโดเมนสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. โดเมน 2 ระดับ เป็นโดเมนที่มีส่วนประกอบ 2 ส่วนหลัก คือ ชื่อโดเมนและประเภทของโดเมน เช่น Wikipedia.org เป็นต้น
ประเภทของโดเมน 2 ระดับ
1) .com บริษัทหรือองค์กรพาณิชย์
2) .org องค์กรเอกชนไม่แสวงหาผลกำไร
3) .net องค์กรที่เป็นเกตเวย์ หรือจุดเชื่อมต่อเครือข่าย
4) .edu สถาบันการศึกษา
5) .gov องค์กรทานทหาร
2. โดเมน 3 ระดับ เป็นโดเมนที่มีส่วนประกอบ 3 ส่วนหลัก คือ ชื่อโดเมน,ประเภทโดเมน และประเทศ เช่น google.co.th เป็นต้น
ประเภทของโดเมน 3 ระดับ
1) .co บริษัทหรือองค์กรพาณิชย์
2) .ac สถาบันการศึกษา
3) .go องค์กรรัฐบาล
4) .net องค์กรให้บริการเครือข่าย
5) .or องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร
___________________________________________________________
ขอบคุณข้อมูลจาก http://nidgear.wordpress.com, http://www.l3nr.org, http://www.bs.ac.th'
http://school.obec.go.th/krunarinrat/internet/borikan.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น